สินค้าทุกเเบบส่งฟรี ทั่ว กทม. เเละนนทบุรี
ค้นหาคำยอดนิยม
ช่อดอกไม้
ดอกกุหลาบ
เดซี่
ทานตะวัน
มาแรงตอนนี้
Aurora
Shining
Diana
Macro
icon

รับสิทธิพิเศษก่อนใครเพียงสมัครสมาชิก

พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 โดยสังเขป

หมวดหมู่บทความ : เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
7 ก.พ. 2567
about
about
about
about

dsc06470

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยสังเขป

เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 LoveYouFlower ขอนำพระราชประวัติของพระองค์ท่านมาบอกเล่าให้ได้รู้กัน โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

ทรงพระราชสมภพ

14725716_620385201468217_7070835531881354228_n

พระสูติบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

14729356_620385184801552_1252098026682477898_n

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเมื่อพระชันษา ๕ พรรษาทรงชุดละครไทยซึ่งสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานให้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณโรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเซตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่นในตอนนั้น

พระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชคือ “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” และมีพระนามเมื่อแรกประสูติอันปรากฏในสูติบัตรว่า “เบบี้ สงขลา” พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี)

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงมีสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”

14731159_620385361468201_2311856546949864487_n

พระบรมฉายาลักษณ์นี้ถ่ายที่ร้านเดอ ยอง พ.ศ. 2471

14725630_620385241468213_4440278570402214350_n

ไปรษณีย์ลายพระราชหัตถ์เมื่อครั้งทรงพระเยาว์

14657326_620385298134874_550308607850824249_n

ชั้นเด็กเล็ก ในโรงเรียนอนุบาลของมิสซิสเดวิส พ.ศ. 2474

การศึกษา

14695392_621920034648067_6534181746398357236_n

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อณ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จ.กรุงเทพมหานคร เมื่อพระชนมายุ 5 พรรษา จากนั้นจึงเสด็จไปศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) เนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเห็นว่าจะเป็นการดีกว่า หากให้สามพระองค์ได้รับการศึกษาที่นั่น โดยในปี พ.ศ. 2478 พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติและทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากโรงเรียนดังกล่าว พระองค์ทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน และทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมือง โลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราชพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ

ในปี พ.ศ. 2488 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล จากนั้นได้ทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์

ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน เนื่องจากต้องพระแสงปืนที่พระกระหม่อม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในวันเดียวกันนั้นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงได้ตัดสินพระทัยรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยน ไปศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์แทน ซึ่งทั้งสองสาขานั้นมีความจำเป็นสำหรับตำแหน่งประมุขของประเทศ

14650656_621920807981323_3688933367704269240_n

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเครื่องชุดลูกเสือ

14702357_621921671314570_4766466398097412341_n

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าโรงเรียนเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนอนุบาลของมิสซิสเดวีส

ทรงครองราชย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ 2489

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เมื่อพระชนมพรรษาได้ 18 พรรษา แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่ง จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องและมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและ ราชสังคหวัตถุทรงเจริญ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน ทำให้พระองค์เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ ทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน

King_Bhumibol_coronation_2

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้นพปฎลเศวตฉัตรในระหว่างทำพิธีพระบรมราชาภิเษก

thai-king-1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับบนแท่นพระที่นั่งในกระบวนแห่ระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

221

พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงประทับแรม ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น ในปีพ.ศ. 2491 พระองค์ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ในวันนั้นเอง พระองค์ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาในหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส

ในปีเดียวกันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง พระองค์ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร โดยได้ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ และโปรดฯ ให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพของทั้งสองพระองค์จึงแน่นแฟ้นขึ้น ต่อมาได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงเดียวกันกับที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้าเป็นผู้พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ พระองค์ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติในวันที่ 28 เมษายน 2493

ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้

  1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
  2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อวันที่ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 กรกฏคม 2515
  3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
  4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฏคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

1354277413

พระราชาพิธีราชาภิเษกสมรส ณ ตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493

109464511

ทะเบียนสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระรูปร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพระราชโอรส และพระราชธิดา

พระบรมราชาภิเษก

20071205023911

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับบนแท่นพระที่นั่งในกระบวนแห่ระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง โดยพระองค์ได้เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”

ในการนี้เอง พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีอีกด้วย

pic2_resize

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร ในระหว่างพระราชพิธีราชาภิเษก

ในหลวง ร.9

พระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

ทรงพระผนวช

5.15

ทรงพระผนวช เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 และทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชตลอดในช่วงที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระศาสนกิจเป็นเวลา 15 วัน

ภาพเก่าเล่าเรื่อง ภูมิพโลภิกขุ เมื่อในหลวงทรงผนวช 001

สมเด็จพระราชชนนี ทรงจรดพระกรรไกร หลังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499

ภาพเก่าเล่าเรื่อง ภูมิพโลภิกขุ เมื่อในหลวงทรงผนวช 006

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทรงพระบรรพชา ประทับที่พระแท่นท้ายอาสนสงฆ์สมเด็จพระราชชนนี ถวายบาตรสำหรับพระราชพิธีอุปสมบทกรรม

ภูมิพโลภิกขุ เมื่อในหลวงทรงผนวช 005

พระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี ป.9) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ทูลซักถามอันตรายิกธรรม

พระอัจฉริยภาพ

557000014917801

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแซ็กโซโฟน

นอกจากพระอัจฉริยภาพด้านวิชาการแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทเพลงตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งเพลงทั้งหมดนั้นได้มีนักดนตรีทั้งไทย และต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลียได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์อีกด้วย นอกจากพระปรีชาสามารถด้านต้นดังที่ได้กล่าวไปแล้ว พระองค์ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์ แปลเรื่อง ติโต นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดกพระมหาชนก ที่ทรงได้สอดแทรก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหอดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรชาวไทย ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องให้ทรงเป็น “อัครศิลปิน” ของชาติ

king4

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับภาพวาดด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง

025a

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชนะเลิศการแข่งขันเรือใบ ในงานซีเกมครั้งที่ 4 ณ สนามศุภชลาศัยสถานกีฬาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2510

Image

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานช่าง

ขอบคุณข้อมูลจาก: เว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก

https://www.sanook.com/news/851107/

www.OKnation.net

ประเภทสินค้าที่หลากหลาย

เลือกให้ตามโอกาสสำคัญ